คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

วิสัยทัศน์หลักสูตร

“สร้างสรรค์มหาบัณฑิตทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ให้มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎี การจัดการภาครัฐ

                   และสาธารณะสมัยใหม่ เพื่อเป็นนักบริหารและผู้นำขององค์กร และประเทศชาติ”

จุดเด่นสาขาวิชา

“บริหารรัฐกิจเป็นสาขาที่มีความหลากหลาย ทำงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน”

โครงสร้างรายวิชา

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ
Master of Public Administration
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม(ไทย)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ(ไทย)
รป.ม.
ชื่อเต็ม(อังกฤษ)
Master of Public Administration
ชื่อย่อ(อังกฤษ)
M.P.A.

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.จักร์พงษ์ เปี่ยมเมตตา

ประธานหลักสูตร

  • ผศ.ดร.ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล
  • ดร.ไชยอนันต์ ตรีไพบูลย์

หลักสูตรรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (2566) หน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต ประกอบด้วย

หมวดวิชา
หน่วยกิต
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
ไม่นับหน่วยกิต
พฐ.501 คอมพิวเตอร์สำหรับผู้บริหาร
ไม่นับหน่วยกิต
RC.501 Computer for Executives
พฐ.502 ภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหาร
ไม่นับหน่วยกิต
RC.502 English for Executives
SCI 510 วิทยาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์ และจริยธรรมทางการบริหาร
ไม่นับหน่วยกิต
SCI 510 Science of Creative Intelligence and Ethical Management
2. หมวดวิชาบังคับ
18
แผน ก แบบ ก 2 ให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และแผน ข ให้ศึกษา ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
รศ.511 ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
3(3-0-6)
รศ.512 องค์การและการจัดการสมัยใหม่
3(3-0-6)
รศ.513 การจัดการเชิงกลยุทธ์
3(3-0-6)
รศ.514 นโยบายสาธารณะ
3(3-0-6)
รศ.515 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
3(3-0-6)
รศ.516 การคลังสาธารณะและงบประมาณ
3(3-0-6)
รศ.517 ธรรมาภิบาลและการจัดการภาครัฐแนวใหม่
3(3-0-6)
3.หมวดวิชาเลือกเสรี
6
รวม
36

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประกอบอาชีพอิสระ ดังนี้

      • ข้าราชการ พนักงานราชการ
      • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
      • พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
      • นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์
      • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
      • นักบริหารทรัพยากรมนุษย์
      • เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรอิสระ
      • นักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ ที่ปรึกษาด้านการเมือง
      • อาชีพอิสระ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถ

      • PLO 1 มีความรู้และความเข้าใจในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีด้านรัฐประศาสนศาสตร์ การวิจัย และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
      • PLO 2 เพิ่มสมรรถนะในด้านการสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์แยกแยะประเด็นอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและประมวลผล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการ สามารถปฏิบัติงานและสื่อสารได้อย่างชำนาญการ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ดี
      • PLO 3 ยึดหลักคุณธรรม และจริยธรรมในการบริการสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มี      ธรรมภิบาล และจรรยาบรรณวิชาชีพ
      • PLO 4 มีภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อสังคม กล้าตัดสินใจ และรับฟังความเห็นของผู้อื่น ดำรงตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และประเทศชาติ

ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร

ผู้สำเร็จการศึกษา  ป.ตรี ค่าใช้จ่าย 145,000 บาท ตลอดหลักสูตร  

Scroll to Top